GitHub 您所在的位置:网站首页 opennms horizon GitHub

GitHub

#GitHub| 来源: 网络整理| 查看: 265

SPCN-NMS

การติดตั้ง การใช้งาน และการอ่านผลของเครื่องมือ OpenNMS Horizon

ขั้นตอนที่ 1 - ติดตั้ง OpenNMS ขั้นตอนที่ 2 - ติดตั้ง PostgreSQL ขั้นตอนที่ 3 - เริ่มใช้งาน OpenNMS ขั้นตอนที่ 4 - การเปิด UI ของ OpenNMS ผ่าน Windows OS ขั้นตอนที่ 5 - การติดตั้ง Server E-mail ในการส่งการแจ้งเตือน การเพิ่ม Node เพื่อใช้ในการ Monitoring การเข้าไปดูข้อมูลของ Client การตั้งค่าหมวดหมู่ การเพิ่ม Node เข้าสู่ Dashboard การตั้งค่าส่วนเสริม ผลที่ได้จากการ monitor ผู้จัดทำ

ความต้องการของระบบ

ขั้นตอนที่ 1 - ติดตั้ง OpenNMS ทำการอัพเดท Packages ทั้งหมดก่อนที่จะทำการติดตั้ง OpenNMS โดยใช้คำสั่งดังนี้ apt-get update

ทำการติดตั้ง Java Development Kit โดยใช้คำสั่งดังนี้ apt-get install default-jdk gnupg gnupg2 gnupg1

ดาวน์โหลดและสร้างไฟล์สำหรับติดตั้ง OpenNMS โดยใช้คำสั่งดังนี้ [1] wget -O - https://debian.opennms.org/OPENNMS-GPG-KEY | sudo apt-key add - [2] echo "deb https://debian.opennms.org/ stable main" | sudo tee /etc/apt/sources.list.d/opennms.list

ทำการอัพเดท Packages อีกครั้ง โดยใช้คำสั่งดังนี้ apt update

เข้าสู่การติดตั้ง OpenNMS จะใช้คำสั่งดังนี้เพื่อติดตั้ง Package ของ OpenNMS เมื่อติดตั้งสำเร็จแล้ว จะได้ผลลัพธ์ตามรูปภาพด้านล่าง apt install opennms

ขั้นตอนที่ 2 - ติดตั้ง PostgreSQL เช็คการติดตั้งภายใน VM/CT ว่ามี Package ของ PostgreSQL อยู่หรือไม่ โดยใช้คำสั่ง systemctl status postgresql โดยถ้าหากไม่มีหรือตรวจสอบแล้วไม่พบเจอ ให้ทำการติดตั้ง Package ดังกล่าวโดยใช้คำสั่งดังนี้ apt install postgresql

สร้างฐานข้อมูล โดยใช้คำสั่งตามลำดับดังนี้ [1] su - postgres [2] createuser -P opennms //สร้างผู้ใช้ฐานข้อมูล โดยที่การใส่รหัสนั้น จะสามารถใส่อะไรก็ได้ แต่ต้องกรอกเหมือนกันทั้งคู่

createdb -O opennms -E UTF-8 -T template0 opennms //สร้างฐานข้อมูล อธิบายการทำงานจากคำสั่งย่อดังนี้ -O คือ กำหนดชื่อเจ้าของฐานข้อมูล -E คือ การกำหนด encoding -T คือ การกำหนดเทมเพรต

template0 เป็นเทมเพลตเปล่าๆที่ไม่มีวัตถุที่ผู้ใช้กำหนดใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างฐานข้อมูลใหม่ที่ไม่มีวัตถุหรือข้อมูลจากฐานข้อมูลอื่น

template1 ในทางกลับกันเป็นเทมเพลตที่มีวัตถุและข้อมูลทั้งหมดจากpostgresฐานข้อมูลเทมเพลตนี้ใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างฐานข้อมูลใหม่ที่รวมอ็อบเจ็กต์และข้อมูลมาตรฐานทั้งหมดที่มีให้ใน PostgreSQL เช่น pg_catalog

ในส่วนนี้ เป็นการเซ็ต Password ของฐานข้อมูลโดย คือ Password ที่ต้องการจะตั้ง ดังคำสั่งต่อไปนี้ psql -c "ALTER USER postgres WITH PASSWORD '';"

หลังจากทำการเซ็ต Password ของฐานข้อมูลเสร็จสิ้น ใช้คำสั่ง exit และ ทำการแก้ไขไฟล์ opennms-datasources.xml โดยใช้ nano ดังคำสั่งดังนี้ nano /usr/share/opennms/etc/opennms-datasources.xml โดยจะทำการแก้ไขในส่วนไหนบ้าง? ทำการแก้ไขส่วน user-name ของ opennms ทำการแก้ไขส่วนของ password ให้ตรงกับที่ตั้งรหัสผ่านให้ฐานข้อมูล

หลังจากทำการแก้ไขเสร็จสิ้น ให้ทำการออกจากไฟล์ด้วยการกด Ctrl+X ต่อไปกด Y และกด Enter เพื่อบันทึกการแก้ไข

ขั้นตอนที่ 3 - เริ่มใช้งาน OpenNMS เริ่มต้นด้วยการเปิดระบบ OpenNMS ด้วยคำสั่งดังนี้ /usr/share/opennms/bin/runjava -s

ทำการลงไลบรารี่ที่จำเป็น และเชื่อมต่อฐานข้อมูล PostgreSQL โดยใช้คำสั่งดังนี้ /usr/share/opennms/bin/install -dis

ทำการเปิดใช้งาน OpenNMS และเช็คการทำงานของ OpenNMS ว่าใช้งานได้ปกติหรือไม่ ตามคำสั่งดังนี้ systemctl start opennms //เปิดใช้งาน OpenNMS systemctl status opennms //เช็คการทำงาน

ทำการเชื่อมต่อ OpenNMS เข้าสู่ Port 8980 และ Reload Uncomplicated Firewall (UFW) โดยใช้คำสั่งดังนี้ ufw allow 8980/tcp //ทำการเชื่อม OpenNMS สู่ Port 8980 ufw reload //รีโหลด UFW

ขั้นตอนที่ 4 - การเปิด UI ของ OpenNMS ผ่าน Windows OS เปิด VPN ที่ทำการเชื่อมต่อกับ Server ของ OpenNMS และเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ http://:8980/opennms ในการเข้าสู่ระบบจะใช้ Username : admin Password : admin

กด Opt-in เพื่อส่งสถิติการใช้ opennms แก่ OpenNMS Statistics เพื่อช่วยเหลือในการปรับปรุงซอฟแวร์

ขั้นตอนที่ 5 - การติดตั้ง Server E-mail ในการส่งการแจ้งเตือน ทำการลง Package เพิ่มเติมในส่วนของ sendmail โดยใช้คำสั่งดังนี้ apt-get install sendmail เช็คสถานะการทำงานของ Package ที่ลงไปก่อนหน้านี้ว่ากำลังทำงานอยู่หรือไม่ โดยใช้คำสั่งดังนี้ systemctl status sendmail

การเพิ่ม Node เพื่อใช้ในการ Monitoring ให้ทำการกดที่เครื่องหมาย + (ตามวงกลมสีแดง)

กรอกข้อมูลตามตัว Client ที่จะต้องการ Monitor

ส่วนที่สำคัญ Requisition สำหรับจัดหมวดหมู่การร้องขอเข้า Monitor ระบบเริ่มต้นจะมีให้เลือกแค่ selfmonitor โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือตั้งค่าเองได้ IP Address คือ IP ของ Client ที่จะทำการ Monitor Node Label คือ ชื่อของ node ส่วนของ SNMP Parameters (optional) ให้ตั้งค่า Community String ตามเครื่องที่จะ Monitor โดยค่าเริ่มต้นจะเป็น Public Surveillance Category Memberships (optional) คือ การกำหนดหมวดหมู่เพื่อแสดงสู่ Dashboard

การเข้าไปดูข้อมูลของ Client ให้เลือกที่แท็บ Info (วงกลมสีแดง) และเลือก Node (วงกลมสีน้ำเงิน)

เลือก Node ที่ต้องการ

การแสดงข้อมูล Node ในการอ่านผลของข้อมูล หลักๆนั้น จะเป็นการทำงานของ SNMP ว่ายังใช้งานอยู่หรือไม่

การตั้งค่าหมวดหมู่ เข้าไปที่การตั้งค่า (วงกลมสีแดง)

เข้าที่เมนู Manage Surveillance Categories

สามารถทำการใส่ชื่อและเพิ่มหมวดหมู่ได้เลย

การเพิ่ม Node เข้าสู่ Dashboard เข้าที่การตั้งค่าและเลือกเมนู Surveillance Views Configuration (วงกลมสีแดง)

ทำการกด Add หรือ Edit ตัว Surveillance Views ที่มีอยู่แล้ว

กด Add และทำการเพิ่มชื่อ Surveillance Views ที่ Title รวมถึงทำการกำหนดเวลาในการ Refresh

ทำการเพิ่ม Row และ Column ด้วยการกด Add

ตั้งชื่อ Row และ Column และเลือกหมวดหมู่ที่ต้องการแสดง โดยจะต้องเลือก Row และ Column ให้ตรงกับหมวดหมู่ที่เราต้องการแสดงทั้งหมด และกด Save

ข้อมูลจะแสดงสู่ Dashboard สามารถแสดงผลกราฟและแจ้งเตือนต่างๆได้

การเปิดใช้งานการแจ้งเตือนผ่าน Email เข้าไปที่การตั้งค่าและเลือกเมนู Configure Users, Groups and On-Call Roles (วงกลมสีแดง)

เลือก Configure Users (วงกลมสีแดง)

ในส่วนของตารางช่อง Modify ให้ทำการกดรูปดินสอกระดาษเพื่อแก้ไขในส่วนของข้อมูลการแจ้งเตือน

ในส่วนของ Notification Information นั้นให้พิมพ์ E-mail ลงไปในส่วนของช่อง Email

เลือก Notification Status ให้เป็น On และทำการกดปุ่ม Update

การตั้งค่าส่วนเสริม

การตั้งค่า Protocol SNMP และ HTTP

เข้าสู่ตัว VM หรือ CT ที่ต้องการติดตั้ง

ติดตั้ง SNMP

[1] apt update //อัปเดตแพ็คเกจ [2] apt install snmpd snmp //ลงแพ็คเกจ snmpd และ snmp [3] systemctl start snmpd //เปิดการทำงาน snmp [4] systemctl status snmpd //เปิดการทำงาน snmp

ตั้งค่าระบบ snmp ใน host

nano /etc/snmp/snmpd.conf //ทำการเปิดไฟล์ snmpd.conf

image

แก้ไข agentaddress เป็น Ip address ของตัว VM หรือ CT เพิ่มข้อความ view systemonly included .1.3 เพื่อให้ protocol snmp เข้าถึงตัวข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น

image

rocommunity default -V systemonly rocommunity6 default -V systemonly เพิ่ม disk เพื่อเข้าถึงการทำงานในไฟล์ เช่น disk / คือเข้าถึงไฟล์ใน root ทั้งหมด systemctl restart snmpd //รีสตาร์ทการทำงาน snmp

ติดตั้ง HTTP

เข้าสู่ตัว VM หรือ CT ที่ต้องการติดตั้ง ติดตั้ง HTTP server apt-get install apache2

ตั้งค่าระบบ HTTP ใน host

nano /etc/apache2/sites-available/000-default.conf //ทำการเปิดไฟล์ 000-default.conf

แก้ไขโดยการ - นำ # ที่แถวของ ServerName ออก image image

- แก้ไขชื่อตามที่ต้องการ ![image](https://user-images.githubusercontent.com/116482588/211191024-f8488d63-f111-4779-adfb-4d6c43e2f897.png) systemctl restart apache2 //รีสตาร์ทการทำงาน HTTP server

การติดตั้ง SSH

ในการเปิดการใช้งาน SSH จะใช้คำสั่งดังนี้เพื่อเช็คสถานะของ SSH ก่อนว่าทำงานอยู่หรือไม่ systemctl status ssh

หาก SSH ไม่ได้ทำงานอยู่ ให้ทำการเปิดการทำงานโดยใช้คำสั่งดังนี้ และเช็ค Status อีกรอบเพื่อความมั่นใจ [1] systemctl start ssh //เปิดการทำงาน SSH [2] systemctl status ssh //เช็คสถานะการทำงานของ SSH

การเชื่อม SSH เข้าสู่พอร์ตใน Container

ทำการอนุญาต SSH ให้กับ UFW ufw allow ssh

เปิดใช้งาน UFW และทำการ Reload [1] ufw enable [2] ufw reload

การเชื่อมต่อ Container เข้าสู่ระบบ Windows

เปิด VPN ของตนที่เชื่อมเข้าสู่ Server ได้ เปิด Terminal (cmd) และพิมพ์คำสั่งดังนี้ ssh root@ // เป็นหมายเลข IP ของ Container

ให้พิมพ์ "yes" เพื่อการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์

ผลที่ได้จากการ monitor

image image

ได้รับข้อมูลตามที่เจ้าของเครื่องได้ทำการตั้งค่าในการส่งข้อมูลผ่าน Protocol SNML โดยจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานต่างๆในระบบ ทั้งสถานะ ที่ดูได้ผ่านกราฟ

การแจ้งเตือนเมื่อมีการทำงานที่ผิดปกติเกิดขึ้นจากตัว Client

เครื่อง IP 172.31.0.81 , 172.31.0.82 , 172.31.0.83 , 172.31.0.84

จะได้รับการแจ้งเตือนการทำงานกับ Service SNMP ICMP SSH ข้อมูลส่วนตัวที่ทำการกำหนดโดยผู้ใช้ของเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อ image

เครื่อง IP 172.31.1.254

จะได้รับการแจ้งเตือนการทำงานกับ Service SNMP ICMP DNS ข้อมูลส่วนตัวที่ทำการกำหนดโดยผู้ใช้ของเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อ การแจ้งเตือนกับ IP DNS เป็นเครื่อง Gatway image

เครื่องของตนเอง IP 172.31.1.18

จะได้รับการแจ้งเตือนการทำงานกับ Service SNMP ICMP SSH HTTP ข้อมูลส่วนตัวที่ทำการกำหนดโดยผู้ใช้ของเครื่องที่ทำการเชื่อมต่อ image

ผู้จัดทำ นายสรัล วรรณภูงา 116310400136-2 นายกันตพงษ์ กลิ่นเนียม 116310400321-0 นายธนวัฒน์ เอี่ยมละออ 116310400590-0 นายบัณฑิต สงค์ประชา 116310462015-3


【本文地址】

公司简介

联系我们

今日新闻

    推荐新闻

    专题文章
      CopyRight 2018-2019 实验室设备网 版权所有